ลิงก์ มคอ.
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2203)
บล็อกนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นแฟ้มสะสมงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (mathematical provision for early childhood) ภาคเรียนที่ 2/2562 กลุ่มเรียน 101 (วันพุธเช้า)
ป้ายกำกับ
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
- บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
- มคอ.
- สรุปการสอน
- สรุปบทความ
- สรุปวิจัย
ค้นหาบล็อกนี้
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562
บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 วันพุธ ที่ 19 เดือนเมษายน พ.ศ.2562
วันนี้มีการเรียนการสอนคาบสุดท้ายอาจารย์ได้พูดถึงกรอบมาตรฐานที่เรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษคนละ 1 แผ่นเขียนแผนผังหน่วยนก แต่ก่อนจะลงมือทำอาจารย์ได้เขียนยกตัวอย่างหน่วยไข่ให้ดูก่อน
อาจารย์ได้อธิบายถึงการจัดประสบการณ์ที่จะสอนให้กับเด็กต้องคำนึงถึง 4 สาระ ในแผนหลักสูตรปฐมวัยด้วย ซึ่ง 4 สาระการเรียนรู้มีดังนี้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตา อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย รวมถึงวิธีการดูแลรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกและแสดงมารยาทที่ดี
2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชนรวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
3. ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรจะได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวันกลางคืน ตลอดจนปลูกฝังให้เด็กเกิดความรักความหวงแหนในโลกใบนี้
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสำรวจ ค้นคว้าและทดลองสิ่งต่างๆ รวมทั้งการสื่อสารต่างๆที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
จากนั้นก็ได้ลงมือทำแผนผังหน่วยนก
อาจารย์ได้อธิบายเชื่อมโยงถึงกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ในหน่วยนก แล้วก็เปรียบให้เห็นแต่ละสาระ
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
บรรยากาศในห้องเรียน
การบ้านแผ่นพับ
ความรู้ที่ได้รับ : ได้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนผังที่จะนำไปสอนเด็กต้องดูกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ควบคู่กับดูสาระการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เผื่อวันข้างหน้าจะนำไปทำแผนและสอนเด็กได้ อาจารย์ได้ให้สังเกตหรือข้อแนะนำเล็กๆน้อยๆเพิ่มเติมเพื่อจะนำไปพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น
💙💚💛💜คำศัพท์ภาษาอังกฤษวันนี้💙💚💛💜
evaluation = การประเมิน
development = การพัฒนา
adjust = ปรับปรุง
observe = สังเกต
environment = สิ่งแวดล้อม
ประเมินตนเอง ➨ ในรายวิชานี้ก็ได้ตั้งใจเรียนไม่เคยขาดเรียนเลย
ประเมินเพื่อน ➨ เพื่อนๆน่ารักมากเลยค่ะ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดภาคเรียนเลย
ประเมินอาจารย์ ➨ อาจารย์น่ารักมากค่ะ ขอบคุณอาจารย์สำหรับคำแนะนำ และข้อเสนอแนะต่างๆ ดิฉันจะนำข้อผิดพลาดไปพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นค่ะ
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันศุกร์ ที่ 19 เดือนเมษายน พ.ศ.2562
วันนี้เรียนรวมของกลุ่มเรียน101 และกลุ่ม102
วันนี้อาจารย์ให้ศึกษาและสรุปคู่มือมาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบมีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผนแก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ อีกด้วย
เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่นและสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว โดยวิชาคณิตศาสตร์จะสามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัวได้เป็นอย่างดี การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ได้พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตั้งแต่ปี 2551 โดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการศึกษาศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้ร่วมกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย อายุ3-5 ปี เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังใหเด็กทุกคนได้เตรียมพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวนการรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม การวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา,ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ, แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าสนใจเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
มาตรการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบและประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน มาตรฐาน ค.ป.1.1 :เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป.2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป.3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป.3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป.4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นมาตรฐาน ค.ป.5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในแต่ละช่วงอายุมีความซับซ้อนแตกต่างกัน ซึ่งคุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็ก3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้าและเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนักและปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาวเย็น และเรียงลำดับกิจกรรม เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรู้ของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตำแหน่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีความพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่มาตรฐาน สามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางสามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่งทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล ในรูปแผนภูมิอย่างง่าย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนของเด็ก ได้แก่ ทบทวนความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัตินำความรู้ไปใช้ วัด และประเมินผล ตัวอย่างรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ อาทิการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้การเรียนรู้จากการใช้คำถาม เป็นต้น
ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้และสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยครูต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรมีหลากหลายอาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคลสถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น
นอกจากนั้นเทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่างคือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป
ดูเพิ่มเติม...http://earlychildhood.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/25/2014/09/Math-framework-for-ECE.pdf
🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺
ผลงานของฉัน
🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺🌺
บรรยากาศในห้องเรียน
ความรู้ที่ได้รับ : ได้เรียนรู้กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์เพื่อที่จะทำไปนำไปทำแผนจัดประสบการณ์การเรียนการสอนกับเด็กให้สอดคล้องกับมาตรฐานทั้ง 6 สาระ เพื่อที่เด็กจะได้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ถูกต้องและเพื่อที่จะพัฒนาคณิตศาสตร์สู่การเรียนระดับที่สูงขึ้น
💙💚💛💜คำศัพท์ภาษาอังกฤษวันนี้💙💚💛💜
standard = มาตรฐาน
position = ตำแหน่ง
volume = ปริมาตร
process = กระบวนการ
direction = ทิศทาง
ประเมินตนเอง ➨ วันนี้ตั้งใจเรียนและทำงานส่งอาจารย์ได้ทันเวลา
ประเมินเพื่อน ➨ เพื่อนตั้งใจทำงานทุกคนเลย ทุกคนต่างหาข้อมูลในแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
ประเมินอาจารย์ ➨ วันนี้อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดกรอบมาตรฐานหลังจากที่นักศึกษาได้ทำงานส่งได้ชัดเจนและครบถ้วน
วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันพุธ ที่ 3 เดือนเมษยน พ.ศ.2562
วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงอาจารย์ก็ได้ตรวจความคืบหน้าบล็อกของแต่ละคนว่าได้ทำถึงไหนแล้ว
สำหรับบล็อกบางคนอาจารย์ไปปรับปรุง แก้ไข และใส่เนื้อหาทำให้ครบทุกองค์ประกอบ แล้วอาจารย์กำหนดให้ส่งวันสุดท้ายคือ ก่อนเที่ยง ของวันที่ 5 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2562
วันนี้มีการนำเสนอสื่อของสื่อละกลุ่ม
วงล้อหรรษา |
กราฟสถิติเรื่องอาหาร |
การบวกเลขโดยใช้นิ้วมือ |
บิงโก |
ความสัมพันธ์สองแกน |
จุดกับตัวเลข |
ตารางการมาเรียน |
ความรู้ที่ได้รับ : ได้เห็นสื่อของแต่ละกลุ่มได้นำเสนอ มีแต่สื่อที่น่าสนใจ ดูไว้เป็นตัวอย่างแล้วพอได้ไปสอนก็สามารถนำสื่อนี้ไปสอนเด็กได้
💙💚💛💜คำศัพท์ภาษาอังกฤษวันนี้💙💚💛💜
finger = นิ้วมือ
fraction = เศษส่วน
data = ข้อมูล
statistics = สถิติ
interesting = น่าสนใจ
ประเมินตนเอง ➨ วันนี้อาจารย์ตรวจบล็อกก็ชื่นชมเพราะทำเนื้อหาได้ถูกต้องครบถ้วน และการนำเสนอสื่อก็ผ่านไปได้ด้วยดี
ประเมินเพื่อน ➨ เพื่อนทำบล็อกดีทุกคนเลย มีแค่ส่วนน้อยที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ การนำเสนอก็ดีทุกกลุ่มเลย
ประเมินอาจารย์ ➨ อาจารย์ใจดีให้เลื่อนการส่งบล็อกไปเดือนหน้า อีกทั้งยังชื่่นชมหลายคนและให้ข้อเสนอแนะที่ต้องไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไข
วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562
สรุปการสอน
การเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัยโรงเรียนประถม เกรท บาร์ ในเบอร์มิงแฮม
จาก...โทรทัศน์ครูในคลิปวีดีโอจะเป็นการเรียนการสอนของครูแต่ละคน จะมีมีธีการสอนในรูปแบบที่แตกต่างกันตามความรู้และความเข้ใจของตัวเด็ก และจะมีการพัฒนาเป็นขั้นๆไปในแต่ระดับชั้น โดยหลักสูตรคณิตศาสตร์ของโรงเรียน ในหนึ่งภาคเรียนจะเรียนคณิตศาสตร์เพียงสัปดาห์ละครั้ง
➨ ครูวาเนสซา เรียนข้างนอกห้องเรียนโดยการถามเด็กเกี่ยวกับจำนวนมากกว่าน้อยกว่าแล้วให้เด็กหยิบเอาตัวเลขไปหนีบข้างหน้าหรือข้างหลังตัวเลขที่เป็นโจทย์ที่หนีบอยู่ เป็นการเรียนรู้การเรียงลำดับจำนวน มากกว่า น้อยกว่า
➨ ครูอแมนดา จะสอนคณิตศาสตร์ โดยจะบอกจำนวนแล้วให้เด็กวิ่งไปหยิบเลขใบนั้นมา ซึ่งแต่ละใบจะวางกระจายกันอยู่ เป็นการทดสอบการสังเกต ฝึกการนับจำนวน ความแม่นยำ และฝึกสมาธิ รวมถึงได้เคลื่อนไหวร่างกายในการวิ่งไปหยิบภาพตัวเลขเป็นการส่งเสริมพัฒนาการหลายด้านในการเรียนคณิตศาสตร์
➨ครูเรเชล สอนเนิร์สเซอรี่โดยการทำกิจกรรมวงกลมแล้วครูถามเด็กว่า "เรามานับกันว่า มีเท่าไหร่กันจ้ะ" แล้วให้เด็กช่วยกันตอบ มีการสอนการนับจำนวนตุ๊กตาแล้วให้เด็กแต่ละคนช่วยกันนับ และมีการใช้เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เป็นสื่อการสอนพร้อมกับทำท่าประกอบ มีอุปกรณ์ที่เด็กสามารถเห็นภาพได้ชัดเจน เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับการนับจำนวน เรียนการรู้จักตัวเลข การนับจำนวน และการคำนวณ ที่เป็นพื้นฐานกรแก้โจทย์คณิตศาสตร์ แต่เป็นการสอนที่ต้องใช้เวลา เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนแน่ใจว่าเด็กเข้าใจตัวเลขจริงๆ แล้วทุกครั้งที่ีมีการเรียนการสอนจะมีการบันทึกพัฒนาการเด็กแต่ละคนว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการอย่างไรและต้องพัฒนาอย่างไร แล้วจึงพัฒนาคณิตศาสตร์ในขั้นต่อไป
ครูที่นี่จะสอนให้เด็กเรียนรู้รายบุคคล ครูจะให้เด็กเลือกสิ่งที่อยากจะเรียนรู้มา 1 อย่างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองสนใจ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เพื่อที่เด็กจะได้เข้าใจและมีการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขึ่น
โดยในแต่ละสัปดาห์ครูก็จะมาประชุมกันปรึกษาหารือถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กว่ามีการพัฒนาไปถึงขั้นไหนเพื่อที่จะทำแผนการเรียนรู้ของเด็กในสัปดาห์หน้า เป็นการพัฒนาเด็กให้เป็นไปตามพัฒนาการ ซึ่งจะทำแบบนี้ตลอดจะมีการวางแผน ประเมินผล ติดตาม ตลอดการเรียนรู้
ดูเพิ่มเติม...https://www.youtube.com/watch?v=eftDXPGKtMs
วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562
สรุปบทความ
บทความ
เตรียมพร้อมคณิตศาสตร์ตั้งแต่ก้าวแรก...ของลูกน้อย
บทความจาก...สถาบันราชานุกูล
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน เด็กที่ได้รับการเตรียมความพร้อมทักษะด้านคณิตศาสตร์จะเรียนได้ดีเมื่อเข้าเรียนชั้นอนุบาล พ่อแม่จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การนับขั้นบันไดที่เด็กขึ้น-ลง พัฒนาทักษะผ่านกิจกรรม เด็กจะสามารถแก้ปัญหาได้ดี
ทักษะทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นต่อลูกน้อย
- การสังเกต สิ่งของที่เหมือนกันหรือต่างกันตามขนาด รูปร่าง สี เช่น สังเกตสีของใบไม้
- การเปรียบเทียบสิ่งของชนิดเดียวกันหรือต่างกันตามขนาด ความยาว ความสูงน้ำหนัก เช่น ใหญ่-เล็ก เตี้ย-สูง หนัก-เบา จนถึงการเปรียบเทียบ "ขั้นกว่า" ของวัตถุ 3 ชิ้น
- การเรียวลำดับสิ่งของ เช่น เรียงลำดับจากใหญ่สุดไปเล็กสุด
- การวัด
- การนับ
- รูปทรงและขนาด เป็นพื้นฐานเรขาคณิต
- การจัดหมู่ มีลักษณะเป็นกอง เช่น กองนี้เป็นช้อน กองนี้เป็นแก้วน้ำ
- การรวมหมู่ เป็นการนำสิ่งของมารวมกัน
- การแยกหมู่ เป็นการแยกของต่างกันที่กองรวมกันมาแยกเป็นกอง
เทคนิคดีๆ แนะนำพ่อแม่พาทำกิจกรรมเสริมความสุขพัฒนาคณิตศาสตร์
- สร้างรูปทรง
- นับและคัดแยกสิ่งของตามขนาด สี หรือกลุ่ม
- เบอร์โทรศัพท์ในบ้าน
- ขนาดวัตถุสิ่งของรอบตัว
- ทำอาหาร การนับ ชั่ง ตวง ส่วนผสมของอาหาร
- การเดินเล่น เช่น ไปเจอก้อนหินให้ลูกน้อยเปรียบเทียบก้อนหินเล็ก-ใหญ่
- บอกภาพเวลา
- แยกรูปทรง
- ร้องเพลงเกี่ยวกับจำนวน
- ใช้ปฏิทิน
- การแจกสิ่งของ
- การเล่นเกมเกี่ยวกับตัวเลข
- การแต่งกาย
วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562
สรุปวิจัย
วิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย วิจิตตรา จันทร์ศิริ
มหาวิทยาลัยบูรพา สิงหาคม 2559
สรุปวิจัย
1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมอง เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้ นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้ นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
3) เพื่อวัดเจตคติต่อการปฏิบัติกิจกรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน
กลุ่มตัวอยางที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหวาง 5-6 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปี ที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนวัดระเบาะไผ อําเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างเจาะจง จํานวน 35 คน ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที รวมทั้ งสิ้น 40 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานโดยผู้เชี่ยวชาญคู่มือ การใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและแบบวัดเจตคติของ เด็กปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ผลการวิจัย รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 6 ขั้ นตอนคือ
1)ขั้นสร้างความสนใจ
2) ขั้นวางแผน
3) ขั้ นปฏิบัติกิจกรรม
4)ขั้นทบทวน
5) ขั้นนําเสนอ
6) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้
มีความเหมาะสมมากทุกด้าน โดยทุกประเด็นมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมระหวาง 3.75-4.25 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐานมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกวาก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานอยูในระดับดี
แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี
เรื่อง กลางวันกลางคืน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)